การรับรู้ เป็นเหตการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์ประสาทสมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิต ไม่ใช่จิตทั้งหมด จัดเป็นประเภทอสสาร สามารถ Observe หรือ Experienceได้ด้วยวิธีพินิจภายใน(Introspection)
การรับรู้ หมายถึง การรู้สึกสัมผัสที่ได้รับการตีความให้เกิดความหมายแล้ว เช่นในขณะนี้ เราอยู่ในภาวะการรู้สึก(Conscious)คือลืมตาตื่นอยู่ ในทันใดนั้น เรารู้สึกได้ยินเสียงดังปังมาแต่ไกล(การรู้สึกสัมผัส-Sensation) แต่เราไม่รู้ความหมายคือไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เราจึงยังไม่เกิดการรับรู้ แต่ครู่ต่อมามีคนบอกว่าเป็นเสียงระเบิดของยางรถยนต์ เราจึงเกิดการรู้ความหมายของการรู้สึกสัมผัสนั้น ดังนี้เรียกว่าเราเกิดการรับรู้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในเสี้ยววินาที คนทั่วไปจะแยกไม่ออกผมเองก็แยกไม่ออก แต่ผมใช้เหตุผลมาแยกขั้นตอนการเกิดออกได้ คือ เพราะว่าเราอยู่ในภาวะการรู้สึก ดังนั้นเราจึงรู้สึกสัมผัส และเพราะว่าเรารู้สึกสัมผัส ดังนั้นเราจึงรู้ความหมาย เป็นไปไม่ได้ที่เราจะรู้สึกสัมผัสก่อนการรู้สึก และเป็นไปไม่ได้ที่เราจะตีความเสียงดังปังก่อนการรู้สึกสัมผัส
ดังนั้นมันจะต้องเกิดเป็นขั้นๆ นับจากขั้นการรู้สึก การรู้สึกสัมผัส การตีความให้รู้ความหมาย อย่างแน่นอนถ้าเราวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้จะได้ดังนี้ คลื่นเสียงเดินทางเข้ากระตุ้นที่หู แล้วเกิดการเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นกระแสประสาท จากนั้นจึงเดินทางต่อไปจนถึงแดนการรู้สึกได้ยินคือAuditory cortex ที่สมองบริเวณขมับ
กระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเหตุการณ์ทางกาย ทางวัตถุ หรือทางสสาร แต่ในทันใดนั้น การรู้สึกได้ยินเสียงก็เกิดขึ้น(การรู้สึกสัมผัส-sensation) กระแสประสาทจากนิวโรนกลุ่มนั้นจะกระตุ้นนิวโรนข้างเคียงต่อๆกันไปเรื่อยๆ จนอ่อนกำลัง เมื่อนิวโรนข้างเคียงได้รับการกระตุ้น (กาย) ความรู้สึก(จิต)ก็เกิดขึ้นด้วยควบคู่กัน แต่ความรู้สึกในคราวนี้เรียกว่า การระลึก(Recall หรือ Retrieval) ผลจากการระลึกนี้จะโยงสัมพันธ์กับการรู้สึกสัมผัสที่เกิดอยู่ก่อนแล้วนั้นทำให้เกิดการรู้ความหมายขึ้น เรียกว่า การรับรู้...การรับรู้เป็นเหตุการณ์ทางจิต เกิดจากกิจกรรมของกลุ่มนิวโรน มันจึงต้องเกิดขึ้นในสมอง เพราะนิวโรนเป็นเซลล์ประสาทที่รวมตัวกันเป็นก้อนสมอง ในเมื่อมันอยู่ในสมอง เราจึงดูด้วยตาไม่เห็นแลแม้ว่าเราจะเปิดกระโหลกเข้าไปดูสมองได้ แต่เราก็จะไม่เห็น ความรู้สึกได้ยินเสียง นั้นเลย เพราะมันเป็นอสสาร ไม่มีทางที่เราจะมองเห็นการรู้สึกเจ็บ การรู้สึกรัก ฯลฯ วิ่งไปมาอยู่ในสมองได้เลย
ดังนั้น เราต้อง เดา เอาเอง การเดาเอาเองนี้เรียกให้ไพเราะขึ้นก็ว่า เราสันนิษฐาน และผลของการสันนิษฐาน เราเรียกว่าภาวสันนิษฐาน หรือ Construct ที่ได้กล่าวให้ท่านหูอื้อเล่นมาแล้วในเรื่อง Concept นั่นก็คือ การรู้สึกสัมผัสก็ดี การรับรู้ก็ดี เป็น Construct และด้วยเหตุที่มันเป็นผลของกิจกรรมของกลุ่มนิวโรน มันจึงต้องโยงสัมพันธ์กับกลุ่มนิวโรนนั้นๆ ถ้าสักวันหนึ่งเราสามารถมองเห็นกิจกรรมของกลุ่มนิวโรนนั้นๆ(วัตถุ)ที่เกิดควบคู่กับความรู้สึกนั้นๆ(จิต) แล้ว ภาวสันนิษฐานนั้นก็เป็นของจริง(Entity/Fact)
การรู้สึก การรู้สึกสัมผัส การรับรู้ ต่างก็เป็น ชื่อ ของภาวสันนิษฐานมันต่างก็เป็นลักษณะหนึ่งของจิตในจำนวนลักษณะของจิตที่มีอยู่มากมาย ภาวสันนิษฐานเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยถูกปฏิเสธจากกลุ่มพฤติกรรมนิยมแบบ Radical ยังผลให้การวิจัยเรื่องจิตเงียบหายไปราว 60 ปี
บัดนี้เราได้เข้าไปศึกษาจิตอีกครั้งหนึ่ง ด้วยความสนุกสนานมากกว่าเดิม และรวดเร็ว เพราะได้ยืมเครื่องมือสำคัญของ Behaviorism มาใช้ คือ Scientific Method หรือ Empirical Research ภายใต้ธงที่ชื่อCOGNITIVE PSYCHOLOGYจิตวิทยาการเรียนรู้ความหมายของจิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา ตามรูปศัพท์
จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ แต่ในปัจจุบันนี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ
จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์การเรียนรู้ (Lrarning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้ ได้แก่ พฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะจากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเองอย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน เนื่องมาจากการที่ ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์ (โบเวอร์ และอัลการ์ด 1987, อ้างถึงใน ธีระพร อุวรรณโน,2532:285) ขอยกตัวอย่างแต่ละด้านดังนี้ในด้านกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ ได้แก่ การที่เด็ก 2 ขวบสามารถเดินได้เอง ขณะที่ เด็ก 6 เดือน ไม่สามารถเดินได้ฉะนั้นการเดินจึงไม่จัดเป็นการเรียนรู้แต่เกิดเพราะมีวุฒิภาวะ เป็นต้น ส่วนใน ด้านแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์โบเวอร์ และฮิลการ์ด ใช้ในความหมาย ที่หมายถึงปฏิกริยาสะท้อน (Reflex) เช่น กระพริบตาเมื่อฝุ่นเข้าตา ชักมือหนีเมื่อโดนของร้อน พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์การเรียนรู้ของคนเรา เกิดจากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอนดังที่ กฤษณา ศักดิ์ศรี (2530) กล่าวไว้ดังนี้"…การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้า (stimulus) มาเร้าอินทรีย์ (organism) ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัส หรือเพทนาการ (sensation) ด้วยประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่น ๆ เรียกว่า สัญชาน หรือการรับรู้ (perception) เมื่อแปลความหมายแล้ว ก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอดเรียกว่า เกิดสังกัป (conception) แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง (response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤิตกรรม แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว…"การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No one too old to learn" หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดีธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ1 ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้2 สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
3 การตอบสนอง (Response) เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล4 การได้รับรางวัล (Reward) ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง (Professional) ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วยลำดับขั้นของการเรียนรู้ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
(1) ประสบการณ์
(2) ความเข้าใจ
(3) ความนึกคิด
1. ประสบการณ์ (experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ถ้าไม่มีประสาทรับรู้เหล่านี้แล้ว บุคคลจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือมีประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งก็เท่ากับเขาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใด ๆ ได้ด้วยประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับนั้นย่อมจะแตกต่างกัน บางชนิดก็เป็นประสบการณ์ตรง บางชนิดเป็นประสบการณ์แทน บางชนิดเป็นประสบการณ์รูปธรรม และบางชนิดเป็นประสบการณ์นามธรรม หรือเป็นสัญลักษณ์
2. ความเข้าใจ (understanding) หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล เพราะสมองจะเกิดสัญญาณ (percept) และมีความทรงจำ (retain) ขึ้น ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า "ความเข้าใจ"ในการเรียนรู้นั้น บุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาประสบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ (organize) วิเคราะห์ (analyze) และสังเคราะห์ (synthesis) ประสบการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งหาความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้
3 ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง Crow (1948) ได้กล่าวว่า ความนึกคิดที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นความนึกคิดที่สามารถจัดระเบียบ (organize) ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับให้เข้ากันได้ สามารถที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดบูรณาการการเรียนรู้อย่างแท้จริง
จิตวิทยาพัฒนาการจิตวิทยา ( Psychology) หมายถึง วิชาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ โดยมีการศึกษาพฤติกรรมหรือการกระทำของสัตว์ เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวมาประยุกต์ใช้และเปรียบเทียบกับลักษณะการกระทำของมนุษย์ต่อไป นอกจากนั้น จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในพัฒนาการ(Development) หมายถึง ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีระเบียบแบบแผน งานพัฒนาการต่างๆจะเป็นกระบวนการเฉพาะอย่าง
ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในหลายๆแง่ เช่น ทางด้านสรีระทางโครงสร้างของรูปร่างและอื่นๆ เป็นจิตวิทยาแขนงหนึ่งที่มุ่งศึกษามนุษย์ทุก วัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ พฤติกรรมการแสดงออก สังคม บุคลิกภาพ ตลอดจนสติปัญญาของบุคคลในวัยต่างกัน เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นฐาน ความเป็นมา จุดเปลี่ยน จุดวิกฤตในแต่ละวัยวิธีศึกษาพัฒนาการของมนุษย์-D.G. Marquis สรุปไว้ว่า
ขั้นตอนของการศึกษาจิตวิทยาพัฒนาการ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 ขั้นปัญหา (Problem)
ขั้นที่ 2 การทบทวนความรู้ (Review of knowledge)
ขั้นที่ 3 การสังเกต (Observation)
ขั้นที่ 4 การตั้งสมมติฐานหรือการตั้งทฤษฎีขึ้นมา (Hypothesis)
ขั้นที่ 5 ทดสอบสมมติฐาน (Testing)-l Allport ได้กล่าวถึงวิธีการศึกษาทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการไว้ว่า
จิตวิทยาพัฒนาการจะมีวิธีการศึกษา 2 วิธี คือ
1. Nomothetic approach
2. Idiographic Approach
วิธีการเก็บข้อมูลในจิตวิทยาพัฒนา
1. การสังเกต(Observation)
2.รายงานระเบียนพฤติการณ์(Anecdotal report)
3.การเขียนชีวประวัติส่วนตัว (Authobiography)
4.การใช้แบบสอบถามหรือแบบสำรวจ (Questionnaires orCheck lists)
5.การสัมภาษณ์ (Interview)
6.มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale)
7.กลวิธีระบายความในใจ (Projective techniques)
8.วิธีการทดลอง (Experimental techniques)
9.วิธีการศึกษาทางสรีระ (Psychophysical study)
10.วิธีการศึกษาเด็กเป็นรายกรณี (Clinical case Study)
วุฒิภาวะ (Maturity)ความสามารถที่สมองคิดทำงานเหนือสมองส่วนหยาบ ความสามรถในการควบคุมใจตัวเอง ความสามารถในการยับยั้งชั่งใจตัวเอง หรือที่เข้าใจกันว่า อีคิว (Emotional Quotient)เป็นการบรรลุถึงความพร้อม ซึ่งเป็นผลของการเจริญเติบโตที่เป็นไปตามพัฒนาการของวัยต่างๆ จนบรรลุถึงความสามารถในการปรับตัว สามารถทำหน้าที่ต่างๆได้สำเร็จ ได้มีการแบ่งวุฒิภาวะออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.วุฒิภาวะทางกาย (Mature Growth)เป็นการบรรลุถึงความพร้อมด้านร่างกาย ทั้งการเจริญเติบโตด้านโครงสร้างร่างกาย ระบบประสาทที่สั่งการให้อวัยวะและกล้ามเนื้อทำงาน เช่น เด็กที่มีวุฒิภาวะทางกายพร้อมที่จะเข้าเรียนได้แล้ว สมองจะต้องสามารถบังคับกล้ามเนื้อ แขน มือ และนิ้วให้จับดินสอได้ ตาสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
2.วุฒิภาวะทางใจ (Maturity)เป็นการบรรลุถึงความพร้อมในการควบคุมอารมณ์และการใช้เหตุผล ส่วนมากเกิดจากการเรียนรู้เอง และการได้รับการอบรมฝึกฝน ฉะนั้นวุฒิภาวะทางใจอาจไม่เท่ากันในคนอายุเท่ากัน คนอายุน้อยอาจมีวุฒิภาวะทางใจสูงกว่าคนอายุมากกว่าได้ วุฒิภาวะทางใจจะเจริญเต็มที่ในวัยกลางคน ในขณะที่วุฒิภาวะทางกายจะเจริญถึงขั้นสูงสุด เมื่อสิ้นสุดวัยรุ่น